Forecasting การพยากรณ์






Forecasting 
การพยากรณ์


การพยากรณ์คือการทำนายเหตุการณ์ในอนาคตเพื่อการวางแผนธุรกิจ ผู้บริหารต้องการข้อมูลที่ถูกต้องในการพยากรณ์ เพื่อความสำเร็จ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการค้าไร้พรมแดน และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ล้วนเป็นจุดที่ก่อให้เกิดความต้องการการพยากรณ์ที่แม้นยำ การพยากรณ์ที่ดีช่วยประมาณความต้องการของทรัพยากรที่ใช้อย่างถูกต้อง เช่นสามารถนำมาใช้ในการลดระดับสินค้าคงคลัง หรือการจัดระดับการจำหน่ายในช่วงเวลาต่างๆในแต่ละวันไม่เท่ากัน
         ช่วงเวลาในการพยากรณ์จะประกอบไปด้วย
1.      ระยะสั้น ระยะเวลา 0-3 เดือน ไม่เกิน 3เดือน

     2.      ระยะกลาง  ระยะเวลาจาก 3เดือน-2ปี
     3.      ระยะยาว ระยะเวลาจาก 2ปีขึ้นไป

การพยากรณ์มี 2 แบบ
      1.      การพยากรณ์เชิงปริมาณ (Quantitative Method) ได้มาจากตัวแบบคณิตศาสตร์ใช้ตัวเลขสถิติมาเป็นฐานในการคำนวณ
      2.      การพยากรณ์เชิงคุณภาพ (Qualitative Method)  ใช้ในการตัดสินใจกลุ่มของผู้ทำงานหรือประสบการณ์ของผู้บริหาร 

การพยากรณ์แบบอนุกรมเวลา  
การพยากรณ์แบบอนุกรมเวลาใช้ข้อมูลสมมติฐานเฉพาะตัวแปรตามเพียงด้านเดียว โดยมีสมมติฐานว่า คุณสมบัติของการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรจะมีคุณสมบัติและแนวโน้มดังเช่นที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต และมีคุณสมบัติเช่นเดิมต่อไปในอนาคต รักษารูปแบบต่างๆของอุปสงค์ตามการเปลี่ยนแปลงของอนุกรมเวลาได้ เหมือนที่เคยเกิดขึ้นสามารถนำมาพยาการณ์ในอนาคตได้
การพยากรณ์แบบอนุกรมเวลาสามารถแบ่งเป็น

    ·      วิธีการพยากรณ์อย่างง่าย (Naive Forecasting)
    ·      วิธีการหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Averages)
    ·      วิธีการปรับเรียบแบบเอ็กซ์โปเนนเชียล (Exponential Smoothing)
    ·       วิธีการคาดคะเนแนวโน้ม (Trend Projections)


อ้างอิง หนังสือการจัดการโซ่อุปทานและลอจิสติกส์
ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยยนต์ ชิโนกุล
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
พิมพ์ครั้งที่2 กรกฎาคม 2549

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้