Warehouse Management



การจัดการคลังสินค้า




     

      องค์กรที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์มีความจำเป็นที่ต้องมีคลังสินค้า เพราะธุรกิจเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการตลาดตามสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นหรือเลวลง หรือในขณะที่ตลาดมีความต้องการทางสินค้าสูง เกิดคู่แข่งขึ้นที่สามารถสร้างความต้องการของผู้บริโภคเกิดการเปลี่ยนแปลงจากสินค้าที่เคยเป็นผู้นำตลาดลดลงอย่างรวดเร็ว หรือกรณีที่เกิดภัยทางธรรมชาติกระทบกระเทือนต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้บริโภค ในกรณีที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าสูงขึ้นเกินกำลังการผลิต ผู้ผลิตสามารถนำสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้ามาบริการลูกค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาดได้ และสาเหตุต่างๆเหล่านี้จึงเกิดคลังสินค้าที่ต้องจัดให้เหมาะสมกับธุรกิจที่มีอยู่
       
     คลังสินค้า (Warehouse) มีรูปแบบการบริการอยู่สองกลุ่ม คือกลุ่มคลังสินค้าทั่วไปมีหน้าที่ในการจัดเก็บสินค้า (Warehousing) และรูปแบบที่เป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้า (Distribution Center : DC)

หน้าที่ของระบบคลังสินค้า
      1.      หน้าที่เก็บรักษาสินค้า (Holding)
      2.      ที่รวบรวมสินค้าจากที่ต่างๆ (Consolidation)
      3.      กระจายสินค้าจากโรงงานใหญ่ (Break-Bulk)
      4.      การรวมสินค้าจากที่ต่างกันหรือสินค้าต่างชนิดกัน

ชนิดของคลังสินค้า
      1.      คลังสินค้าพืชผล
      2.      คลังสินค้าที่เก็บรักษาสินค้าเป็นจำนวนมาก เช่นคลังน้ำมัน สารเคมี
      3.      คลังสินค้าห้องเย็น 
      4.      คลังสินค้าเครื่องใช้ประจำบ้าน
      5.      คลังสินค้าทั่วไป เป็นคลังที่บริการสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นศูนย์กระจายสินค้า
      6.      คลังสินค้าทัณฑ์บน เป็นคลังที่เก็บสินค้านำเข้าจากต่างประเทศที่ยังไม่เสียภาษีอากรขาเข้า

                                                                                                       


                                                                                                                                                                    อ้างอิง หนังสือการจัดการโซ่อุปทานและลอจิสติกส์

ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยยนต์ ชิโนกุล
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
พิมพ์ครั้งที่2 กรกฎาคม 2549




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Forecasting การพยากรณ์